ความรู้วันวาเลนไทน์! การทำงานของระบบร่างกายในวันที่เรามีความรัก
จริงๆแล้วความรักเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้โดยวิทยาศาสตร์ด้วยนะ และนี่คือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และความจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับหัวใจ
ระบบลิมบิกก็คือส่วนหนึ่งของสมองยังไงล่ะ
ความจริงจากสมัย2000ปีก่อนคริสต์ศักราช แพทย์ชาวจีนค้นพบว่าหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือด
แผนภาพนี้มาจากหนังสือทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในปี คศ.1864
นับเป็นเวลา4000ปีจากวันนั้นถึงวันนี้ที่การค้นพบต่างๆเริ่มขึ้น ในขณะที่จากวันนั้นอีก1600ปี อริสโตเติลจะตั้งสมมติฐานว่าหัวใจเป็นศูนย์กลางของความคิด มาถึงยุคเรเนซองที่นักคิดหลายคนมีความเชื่อว่าหัวใจเป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
ความจริงก็คือ แม้ว่าความรู้สึกรักจะถูกส่งมาจากสมอง แต่เราสามารถรับรู้มันทางกายภาพได้
เมื่อเราพบคนที่เรารัก สมองจะเร่งการปล่อยสารสื่อประสาทที่จะทำให้คุณรู้สึกดี สารเอนโดรฟินและนอร์เอพิเนฟรินจากต่อมหมวกใตคือความลับที่ทำให้หัวใจคุณเต้นแรง
และแน่นอนว่านั่นไม่ใช่สารสื่อประสาทเพียงกลุ่มเดียวที่เกี่ยวกับความรัก ยังมีอีกหลายๆสารเคมีและฮอร์โมนที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น สารโดพามีน เซโรโทนีน อ็อกซิโทซีน วาโซเพรสซิน สารเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อการขับเคลื่อนทางเพศ ความต้องการมีคู่ครองและความผูกพัน สรุปง่ายๆคือเมื่อคุณกำลังตกหลุมรัก มันส่งผลมากมายกับร่างกาย ไม่ใช่แค่สมอง
มาถึงการอกหักบ้าง ความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกสูญเสียที่เกิดจากความรัก ความรู้สึกนี้สร้างจากสมองส่วนเดียวกับความเจ็บปวดทางร่างกาย ส่งผลต่อระดับความเครียดของระบบประสาทได้มากเมื่อถูกกระตุ้นหนักๆจะส่งผลต่อเส้นประสาทเวกัส ทำให้ร่างกายมีอาการคลื่นไส้ มึนศีรษะและเจ็บปวดทางร่างกายได้
นั่นคือสาเหตุว่าทำไมคุณถึงรู้สึกอกหัก
อีกหนึ่งความจริงทางวิทยาศาสตร์ก็คือสัตว์ทั้งหลายจะมีอัตราการเต้นของหัวใจกว่า 1 พันล้านครั้ง ไม่ว่าขนาดตัวของมันจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
หัวใจของสัตว์จะเต้นเฉลี่ยหนึ่งพันล้านครั้งเหมือนๆกัน หากเป็นสัตว์ใหญ่ จะมีอายุยืนกว่าและอัตราการเต้นของหัวใจจะใช้เวลาช้ากว่าสัตว์เล็ก
นี่คืออัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที ช่วงอายุขัย และ การเต้นของหัวใจในช่วงชีวิต (หน่วยคือพันล้าน)
สัตว์เล็กมีพื้นผิวของมวลใหญ่กว่าจึงสูญเสียความร้อนเร็วกว่า อัตราการเผาผลาญจีงมากกว่า ทำให้มีช่วงอายุขัยสั้นกว่า ดังนั้นสัตว์ที่มวลมาก อัตราการเต้นของหัวใจก็จะช้ากว่าและมีอายุขัยยืนยาวกว่า
รูปนี้อธิบายว่าทำไมหนูจึงมีช่วงอายุขัยสั้น
แต่มนุษย์นั้นฝ่าฝืนทฤษฎีการเต้นพันล้านครั้งของหัวใจ พวกเรามีอายุมากกว่า 3 เท่าของอายุขัยที่ทฤษฎีนี้กำหนด และก็มีหัวใจที่เต้นมากกว่านั้น 2 เท่า นอกจากการแพทย์และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การใส่ใจและให้ความรักแก่กันละกันจะช่วยให้เรามีอายุยืนขึ้นอีกด้วย
ที่มา : upworthy