เรื่องล่าสุด

แนะนำ 5 เทคนิคง่ายๆ ที่ถนอมให้อุปกรณ์เหล่านี้อยู่กับเรานานขึ้น

หลายคนสงสัยไหมว่า ทำไมอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่เราซื้อมานั้น บางครั้งใช้ได้ไม่นานก็เริ่มรวน และต้องเสียเงินซื้ออันใหม่บ่อยๆ แต่จริงๆ แล้ว คุณอาจไม่รู้ตัวว่าคุณนั่นแหล่ะที่ทำให้มันเสียเร็วขึ้น วันนี้เรามีเทคนิกดีๆมาฝากค่ะ

 

การชาร์จแบตเตอรี่

charging

โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ท, แลปท๊อปในปัจจุบันเป็นประเภทลิเธียม-ไอออน และลิเธียมโพลิเมอร์ ที่สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้โดยไม่ต้องรอให้หมด (0%) ปัจจุบันโรงงานผลิตวัดอายุแบตเตอรี่จากจำนวนครั้งที่แบตเตอรี่เต็มและใช้จนหมด (ประมาณ 400-600คร้ัง) ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะถนอมอายุแบตเตอรี่คือชาร์จตอนแบตเตอรี่เหลือประมาณ 10-20% ซึ่งจะยืดอายุแบตเตอรี่เป็น 1000-1100ครั้ง อีกทั้งแบตเตอรี่ในปัจจุบันสามารถชาร์จทิ้งไว้ได้ถึงแม้แบตเตอรี่จะเต็ม เพราะมันจะมีระบบตัดไฟ ไม่ให้ชาร์จไฟเพิ่มเมื่อเต็มแล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรชาร์จแบตเตอรี่ตลอดเวลา เพราะแบตเตอรี่จะอยู่นานขึ้นถ้าพลังงานอยู่ที่ 40-80% ค่ะ

understandard charger

เพราะเหตุนี้จึงไม่ควรซื้อแบตเตอรี่ราคาถูกที่อาจจะไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีตัวตัดไฟ และไม่ควรชาร์จไฟโดยใช้แบตเตอรี่ที่ไม่ได้มาจากโรงงาน หรือชาร์จจากสาย USB ค่ะ -หลีกเลี่ยงการชาร์จแบตเตอรี่แบบ "เร่งด่วน" ที่บอกว่าสามารถชาร์จไฟเต็มรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง -สำหรับโทรศัพท์มือถือที่มีเคสโทรศัพท์ที่หนา เทอะทะ อาจจะทำให้โทรศัพท์ร้อนเกินไปตอนที่กำลังชาร์จแบตเตอรี่อยู่ ดังนั้นควรถอดเคสที่เทอะทะออกก่อนทำการชาร์จแบตเตอรี่ค่ะ -ทุก ๆ 3 เดือน แนะนำให้ใช้แบตเตอรี่โทรศัพท์ หรือ แล็บท๊อปจนหมด (0%) และชาร์จทันที และต่อเนื่องจนเต็ม 100% เพื่อป้องกันการชาร์จ/หมดพลังงานที่มากเกินไป

 

ควบคุมอุณหภูมิ

temp control

หลีกเลี่ยงการวางแล็บท๊อปบนตัก หรือวางบนเตียงระหว่างที่ใช้ เพราะเครื่องจะระบายความร้อนได้ไม่ดี แต่ควรวางบนแท่นที่สามารถระบายอากาศได้ดี หรือวางบนแท่นที่มีพัดลมในตัวค่ะ หลีกเลี่ยงแก๊ตเจ็ตไม่ให้โดนแสงแดดโดยตรง หรือวางใกล้เครื่องกำเนิดความร้อน เพราะจะส่งผลเสียต่อแบตเตอรี่ได้ บางครั้งถ้าไปทำงานหรือไปเที่ยวต่างประเทศในที่ที่มีอากาศเย็นจัด หลีกเลี่ยงการใช้แล็บท๊อปทันทีที่กลับเข้าที่พัก ควรจะรอให้เครื่องมีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้อง หรือประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนเปิดใช้งาน หรือหากไปเที่ยวต่างประเทศหรือบนภูเขาสูงที่มีอากาศเย็น ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ smartphone ควรจะเก็บไว้ในกระเป๋าหรือในเสื้อหนาว เพราะอากาศที่เย็นจัดก็ส่งผลเสียต่อแบตเตอรี่เช่นกันค่ะ

 

จอมอนิเตอร์

monitor

เพื่อป้องกันไม่ให้สีบนหน้าจอจืดจาง ควรหลีกเลี่ยงการวางจอมอนิเตอร์แบบหันโดนแสงตรงๆ ค่ะ เมื่อต้องเคลื่อนย้ายจอ ควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะไม่วางนิ้วมือบนจอภาพ เพราะอาจจะทำให้เกิดจุดดำถาวรได้ค่ะ หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดหน้าจอด้วยน้ำยาเช็ดกระจก เพราะจะมีสารแอมโมเนียที่ทำลายหน้าจอ และใช้เพียงผ้าเช็ดหน้าจอสำหรับแก๊ตเจ็ตเช็ดทำความสะอาดเท่านั้นนะคะ การจะพับหน้าจอเพื่อปิดเครื่อง ควรสำรวจว่ามีอะไรตกอยู่บนคีย์บอร์ดหรือไม่ เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอค่ะ

 

ระวังไฟตก/ไฟกระชาก

voltage

เมื่อมีพายุฝนฟ้าคะนอง แนะนำให้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือถอดปลั๊ก,ถอดสายเคเบิ้ลออกจากแล็บท็อปค่ะ เพราะระหว่างเกิดพายุฝน อาจก่อให้เกิดไฟกระชากที่เป็นอันตรายต่อเครื่องแก๊ดเจ็ตได้ หากคุณเจอเหตุการณ์ไฟตกบ่อยๆ แนะนำให้ซื้อเครื่องสำรองไฟมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์, แล็บท๊อปด้วยนะคะ เพื่อถนอมแก๊ตเจ็ตของคุณค่ะ

 

หมั่นขจัดฝุ่น

cellphone

สำหรับคุณผู้หญิงที่ชอบเก็บโทรศัพท์มือถือไว้ในกระเป๋าสะพาย บางครั้งอาจเกิดฝุ่นอุดตันได้และจะส่งผลต่อการเชื่อมต่อ แนะนำให้ใช้ไม้จิ้มฟันพันด้วยผ้าสำหรับเช็ดแก๊ตเจ็ตเขี่ยตามช่อง หรือรอยต่ออย่างเบาๆ และต้องปิดเครื่องก่อนทำความสะอาดนะคะ -หรืออาจจะจัดหาช่องเล็กๆ ในกระเป๋าสะพายเพื่อใส่โทรศัพท์มือถืออย่างเดียวก็เป็นไอเดียที่ไม่เลวเลยค่ะ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ และแล็บท๊อปควรได้รับการทำความสะอาดและดูดฝุ่นด้านใน อย่างน้อยปีละ1-2 ครั้ง โดยสังเกตุได้จากระบบระบายความร้อนของเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดเสียงดังขึ้น หรือเครื่องแล็บท๊อปร้อนกว่าปกติ ซึ่งก็เป็นสัญญาณให้ทำความสะอาดแล้วค่ะ และเพื่อความสะดวก หรือไม่ต้องกังวลว่าจะประกอบชิ้นส่วนกลับครบหรือไม่ แนะนำให้ติดต่อมืออาชีพทำความสะอาดให้นะคะ    

แหล่งที่มา: brightside.me