เชื่อหรือไม่ ความเชื่อเกี่ยวกับ “อาหาร” ที่คุณรู้นั้นอาจจะไม่ถูกเสมอไป
เชื่อว่าหลายๆ คนคงมีความเชื่อเกี่ยวกับอาหารหรือเคล็ดลับในครัวเรือนไม่มากก็น้อย แต่มีความเชื่อหลายอย่างเป็นเรื่องเข้าใจผิดค่ะ ดังนั้นเรามาดูกันว่าความเชื่อไหนเป็นเรื่องจริง และเรื่องไหนเป็นเรื่องเข้าใจผิดค่ะ
- เราสามารถกินอาหารที่หมดอายุได้เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด
วันหมดอายุที่ระบุบนฉลากอาหารนั้น บ่งบอกว่าอาหารนั้นๆ จะสูญเสียคุณภาพหรือสารอาหารไปหลังวันที่ระบุ มีเพียงอาหารที่ไม่เน่าเสีย เก็บไว้ได้นาน หรือได้รับการถนอมอาหารอย่างดีเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้น
- อย่าละลายอาหารแช่แข็งที่อุณหภูมิห้อง เป็นเรื่องจริง
ถ้าคุณละลายเนื้อสัตว์ที่อุณหภูมิห้อง แบคทีเรียจะสามารถเพิ่มจำนวนมากเป็นสองเท่า ทุกๆ 20 นาที ดังนั้นเราควรละลายอาหารแช่แข็งในตู้เย็นค่ะ
- ไม่ควรรับประทานอาหารกระป๋องที่มีรอยบุบ เป็นเรื่องเข้าใจผิด
อาหารหระป๋องที่มีรอยในบางกรณีนั้นอาจจะไม่อันตราย เช่นที่มีรอยบุบไม่ลึกมาก หรือไม่โป่งนูน หรือผนึกยังคงปิดสนิท และรอยบุบไม่ได้อยู่ที่ฝา หรือก้นกระป๋อง แต่อาหารกระป๋องที่บวมหรือขึ้นสนิมนั้นเป็นอันตรายแน่ๆ และไม่ควรรับประทานเด็ดขาดค่ะ
- แอลกอฮอล์จะระเหยไปหมดในระหว่างปรุงอาหาร เป็นเรื่องเข้าใจผิด
การปรุงอาหารไม่สามารถกำจัดแอลกอออล์ได้หมด ระหว่างปรุงอาหารโดยการต้ม จะมีแอลกอฮอล์หลงเหลืออยู่มากถึง 85% หากตุ๋นประมาณ 1 ชั่วโมง จะมีแอลกอฮอล์หลงเหลืออยู่ 25% และหลังจาก 3 ชั่วโมง จะยังคงมีแอลกอฮอล์หลงเหลืออยู่ 5%
- อาหารที่กินไม่หมดสามารถเก็บไว้ได้นาน 1 สัปดาห์ เป็นเรื่องเข้าใจผิด
อาหารที่กินไม่หมดควรเก็บไว้ในตู้เย็นไม่เกิน 3 วัน หรือถ้าหากอยากจะเก็บไว้นานกว่านั้นให้เก็บอาหารไว้ในช่องแข็งค่ะ
- ไข่ควรเก็บไว้ที่ช่องใส่ไข่ที่ฝาประตูตู้เย็นเท่านั้น เป็นเรื่องจริง
ไข่ควรเก็บไว้ที่ช่องที่จัดไว้สำหรับใส่ไข่ในตู้เย็น เพื่อให้แน่ใจว่าไข่เหล่านั้นจะได้รับความเย็นอย่างสม่ำเสมอ
- ห้ามนำขวดพลาสติกมาใช้ซ้ำ เป็นเรื่องจริง
หากนำขวดพลาสติกมาใช้ซ้ำโดยที่ไม่ได้รับการล้างที่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ดังนั้น หากต้องการใช้ซ้ำ ต้องล้างขวดด้วยน้ำยาล้างจาน ขัดด้วยแปรง และล้างออกด้วยน้ำร้อนค่ะ
- ไม่ควรนำอาหารร้อนๆ เข้าตู้เย็น ควรรอให้เย็นก่อน เป็นเรื่องจริง
การที่นำอาหารร้อนๆ ใส่ในตู้เย็น อาจจะทำให้สิ่งของในตู้เย็นร้อนขึ้น ทำให้เสียง่ายขึ้น และเปลืองไฟด้วยค่ะ
- สารเคลือบเทฟล่อนเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นเรื่องจริงบางส่วน และเป็นเรื่องเข้าใจผิดบางส่วน
สารเคลือบเทฟล่อนจะปล่อยก๊าซพิษก็ต่อเมื่อได้รับความร้อนที่สูงมาก แต่จริงๆ แล้วความร้อนระหว่างทำอาหารไม่สูงพอที่จะทำให้สารเคลือบเทฟล่อนปล่อยก๊าซพิษได้ อย่างไรก็ตาม ควรจัดให้อากาศถ่ายเทได้ดีระหว่างทำอาหาร และไม่ควรใช้กระทะที่เป็นรอยขูดขีดค่ะ
- ควรใส่น้ำมันลงไปในน้ำต้มเส้นพาสต้า เพื่อป้องกันเส้นติดกัน เป็นเรื่องเข้าใจผิด
น้ำมันที่ใส่ลงไปจะทำให้เส้นพาสต้ามันและลื่น และไม่เกาะติดน้ำซอสต่างหากค่ะ
แหลงที่มา: brightside.me